Skip to main content

ทดลองใช้ Plug-In เพื่อปรับปรุงกราฟ


        ความน่าสนใจใน Oracle APEX  อย่างหนึ่งก็คือความง่ายในการแสดงผลข้อมูล ที่เราสามารถจัดรูปแบบ Dashboard ได้ แต่เมื่อสร้างกราฟแบบต่างๆที่มีมาให้ใน APEX  กราฟที่ได้ แม้นว่าสวยงานระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่เข้าสมัยกับ Flat Design มากนัก  มีความพยายามสร้าง Universal theme ที่เป็น Flag Design แต่สวยงามของกราฟยังไม่ปรับปรุง มีเพียงการรองรับกราฟแบบ HTML5 เพื่อแทนที่ Adobe Flash ที่กำลังจะเลิกใช้เท่านั้น  แล้วเราจะสร้าง Web App ให้ดู"เดิร์น" ได้อย่างไร ?


ตัวอย่างกราฟที่สร้างเป็น HTML5



กราฟที่มากับโปรแกรม


               ปัญหานี้แก้ไขได้ด้วยการเขียน Plug-In เพื่อขยายความสามารถของ APEX แต่สำหรับเราผู้เริ่มต้น ผมก็จะนำเสนอวิธีบ้านๆ ก็คือนำ Plug-In ที่เค้าทำมาแล้วเอามาใช้งาน แล้วไปเอามาจากไหนละ ไม่ไกลเลยครับก็ใน APEX เรานี้ละครับ ใน Apps Gallery โดยกดไปที่เมนู Packaged Apps ที่อยู่ด้านบน แล้วเลือก Apps Gallery จะเห็นโปรแกรมตัวอย่างหนึ่งที่ชื่อว่า Sample Charts เราจะลงโปรแกรมตัวนี้กันเพื่อเอา Plug-In ที่เค้าใช้ในโปรแกรม ลงไปแล้วก็ทดลองเล่นดูนะครับมีกราฟน่าสนใจหลายตัว


โปรแกรม Sample Charts

                 วิธีการลงก็ให้คลิกไปที่ ไอคอน Sample Charts เลยก็จะเข้าสู้คำอธิบายโปรแกรม พร้อมทั้งมีปุ่ม Install ให้ก็ให้กดปุ่มแล้วกด Next ไปเลื่อยๆ


หน้าจออธิบาย ให้กด Install

                       เมื่อติดตั้งเสร็จ ทดลองรันโปรแกรมดู  User,Password ก็ใช้ตัวเดียวกับที่ Login APEX นั้นละ  ก็จะได้หน้าจอด้านล่าง ลองกด Pie ดู


หน้าตาโปรแกรม Sample Charts
   
                            จากนั้นให้เลือกปุ่ม Application ที่อยู่ที่แถบดำล่าง ก็จะเข้าสู่โครงสร้างของโปแกรม Sample Charts ให้เลือก Shared Components แล้วกดเลือกรายการ Plug-Ins ก็จะเข้าสู่หน้าจอที่เก็บ Plug-In ต่างๆของโปรแกรมนี้จะเห็นว่ามีหลายตัวแต่ตัวที่เราจะใช้คือ "D3 Pie Chart"      



รายการ Plug-In ในโปรแกรมนี้
  
                                     ให้ทำการกด Link รายการ Export Plug-In ที่อยู่ด้านขวามือ ก็จะนำเข้าสู่หน้าจอการ Export Plug-In  ให้เลือกเหมือนในรูป แล้วกดปุ่ม Export


ทำการเลือก Plug-In ที่ต้องการ Export
                                                          
                                       โปรแกรมก็จะทำการ download Plug-in เป็นประเภทไฟล์ ".sql"  เอาไว้ที่ไดเร็กเทอรี่ download ก็ได้  ตอนนี้เราได้ Plug-In ของ  "D3 Pie Chart"   มาแล้ว ต่อมาก็ทำการ Import เข้าสู่โปรแกรมของเรา   โดยการกลับไปที่โปรแกรมของเราที่ต้องการ Import เข้ามา      แล้วกดปุ่ม      "Export / Import"  แล้วทำการกดปุ่ม "Import" แล้วกดปุ่ม "Next"  จะเข้าสู่หน้าจอการ Import ให้เลือกไฟล์  Plug-In ที่เรา download มา และเลือก File Type เป็น Plug-In แล้วกดปุ่ม "Next"  



หน้าจอการ Import 

                                            เมื่อทำการ Import เสร็จ เราจะทำการสร้างกราฟใหม่ โดยเริ่มจากการสร้าง Pgae เปล่าๆขึ้นมาก่อน เข้าสู่จอนั้นเราจะเห็น icon ด้านล่างมีปุ่ม "D3 Pie Chart [Plug-in]" เพิ่มขึ้นมาให้ทำการ ลากแล้วปล่อย ที่ CONTENT BODY โปรแกรมก็จะทำการเพิ่ม Plug-In และรอรับ SQL Query ให้ใส่ 

select null, Job as label, count(*)  as value 
from EMP group by Job order by value desc
                                        
เหมือนในรูป


มี icon Plug-in เพิ่มขึ้นมา



ใส่ค่า SQL


                                                 จากนั้นให้คลิก object "Attributes" ด้านซ้าย เพื่อเลือกรูปแบบของ Pie Chart เช่นขนาด การกำหนด Label Column และ Value Column ทาง properties ด้านขวา ให้ใส่ไปเหมือนในรูปด้านล่าง 



กำหนด properties ให้ Attribute

                                              ให้ทำการ Save และทดลองรันดู ก็จะได้กราฟ "D3" ที่ดูดีกว่าของเดิมๆที่มากับ APEX สนใจตัวไหนก็ไปเอาจาก Sample Charts และ โปรแกรมตัวอย่างอื่นๆ  เท่านี้เราก็จะได้ Dashboard ที่สร้างได้อย่างง่ายๆ และหน้าตาดูทันสมัยด้วยจ้า  ; )  





ป.ล. บอกกับตัวเองว่าปีใหม่นี้พยายามเขียนทุกเดือนไม่รู้จะสำเร็จไหม 
                                           


Comments

Popular posts from this blog

Oracle APEX คือ อะไร

สำหรับท่านที่เป็นโปรแกรมเมอร์ มาหลายปีดีดัก คงต้องเคยผ่านการเขียนโปรแกรม ด้วยภาษาต่างๆมามาก แต่ละภาษาก็มีเครื่องมือและคอมไพเลอร์ที่ได้รับความนิยมต่างๆกัน  สำหรับผม เริ่มจาก PASCAL แน่นอน คอมไพเลอร์สุดฮิตที่ทุกคนต้องใช้ (เพราะมีใช้อยู่ตัวเดียวบน PC) ก็คือ TURBO PASCAL อันที่จริงก่อนหน้าก็เขียน ทั้ง C และ COBOL บน DEC  ทูลที่ใช้ก็ VI และ command line Compiler ที่ประทับใจคือ rmcobol วิธีคอมไพล์ก็แสนจะง่าย คือ rmcobol ตามด้วยชื่อ file แต่ดันเว้นวรรคผิด เป็น rm cobol file ครับโปรเจคที่ทำเกือบครึ่งเทอมหายวับไปกับตา ที่พล่ามมานี่คงพอเดาอายุคนเขียนได้นะครับ เอาละมาต่อกันดีกว่า  ยุคต่อมาก็ Delphi ของเจ้า Borland ตอนนั้นดังสูสีกับ Visual Basic ของเจ้าสัว Bill Gates เค้าละ แต่ที่เป็นทูลของเจ้าใหญ่ถึงจะไม่เป็น Mass product แต่เนื่องจาก Data Base เขาเป็นที่หนึ่งจึงมีผู้ใช้พอสมควร นั้นก็คือ Oracle Developer  ยุคนี้น่าเป็นยุค Client - Server ทำมาหากินกับเจ้าเครื่องมือเหล่านี้ก็หลายปี และแล้วอินเตอร์เนตก็มา เป็นความสนุก :p ของคนอาชีพนี้ที่ถูกสาปให้ต้องเรียนของใหม่ตลอดเวลา ได้เจ้า J...

สร้างแผนที่ Leaflet บน APEX

             สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาลองใส่แผนที่ ลงในหน้าจอ ORACLE APEX กัน อันที่จริงแล้ว APEX ได้เตรียมการแสดงผลแบบแผนที่ไว้ให้ เป็นการแสดงผลแบบ Flash ลักษณะแผนที่มีรายละเอียดน้อยและมีรูปแบบค่อนข้างตายตัว ดังรูป                      เราจึงนำเสนอ การใช้แผนที่ Leaflet แทนของ Oracle ที่ให้มากับ APEX ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ Leaflet ซักนิด Leaflet คือ open-source JavaScript library สำหรับเขียนโปรแกรมแสดงแผนที่ เมื่อเป็น open-source เราสามารถ download ตัว library มาใช้งานได้เลย  การใช้งานต้องมีการเขียนโปรแกรม JavaScript อยู่บ้าง                  ในบทความนี้เราจะทำการแสดงยอดขายสินค้าในรูปแบบของแผนที่ โดยแสดงเป็นสีในแต่ละเขตของกรุงเทพฯ  (Choropleth Map)  สีอ่อนหมายถึงยอดขายที่มีจำนวนน้อย ไล่ไปจนสีเข้มหมายถึงยอดขายที่มีจำนวนมาก   ...

การติดตั้ง ORACLE APEX (1/4)

      สวัสดีครับ หายไปนานเลยครับ  ภาระกิจรัดตัวต้องไปช่วยลุงกำนันครับ ชาติต้องมาก่อนอื่นใดครับ บทความนี้เราจะมาเล่าถึงการนำเอา ORACLE APEX มาใช้ในฐานข้อมูลของเราเอง จากบทความที่แล้วที่เราได้ทดลองใช้ ORACLE APEX บน Example Cloud กันบ้างแล้ว ตอนนี้เราจะมาทดลอง Install ลงบนเครื่องเราเองใช้ในหน่วยงานแบบไม่ต้องมี Internet และไม่ต้องไปเสียเงินใช้บน ORACLE Cloud :p ตั้งใจว่าจะไม่เป็นวิชาการมากนักเอาเป็นแบบเน้นทดลองกันเองเลยตามขั้นตอน แต่ก่อนอื่นก็ต้องทำความเข้าใจกันบ้างเพื่อว่าเวลา Install จะได้ไม่งงว่ากำลังทำอะไร ครับ ORACLE Application Express Engine เป็น โปรแกรม Oracle Package ที่ต้องการติดตั้งลงในฐานข้อมูล ORACLE เท่านั้นและแสดงผลเป็น Web Application และการติดตั้งก็มีสองวิธีคือ ใช้ Web Server ของ Database เอง หรือใช้ Web Listener อื่นร่วมด้วยก็ได้  ซื่งบทความนี้จะเสนอเฉพาะวิธีที่สองเท่านั้นครับ เพราะในหน่วยงานส่วนใหญ่น่าจะใช้เป็น แบบ Multi-Tier มากกว่า ภาพประกอบแบบ การใช้ Listener ของ database เองเลยที่เรียกว่า Oracle XML DB Protocol Server with the embedded P...