สำหรับท่านที่เป็นโปรแกรมเมอร์ มาหลายปีดีดัก คงต้องเคยผ่านการเขียนโปรแกรม ด้วยภาษาต่างๆมามาก แต่ละภาษาก็มีเครื่องมือและคอมไพเลอร์ที่ได้รับความนิยมต่างๆกัน สำหรับผม เริ่มจาก PASCAL แน่นอน คอมไพเลอร์สุดฮิตที่ทุกคนต้องใช้ (เพราะมีใช้อยู่ตัวเดียวบน PC) ก็คือ TURBO PASCAL อันที่จริงก่อนหน้าก็เขียน ทั้ง C และ COBOL บน DEC ทูลที่ใช้ก็ VI และ command line Compiler ที่ประทับใจคือ rmcobol วิธีคอมไพล์ก็แสนจะง่าย คือ rmcobol ตามด้วยชื่อ file แต่ดันเว้นวรรคผิด เป็น rm cobol file ครับโปรเจคที่ทำเกือบครึ่งเทอมหายวับไปกับตา ที่พล่ามมานี่คงพอเดาอายุคนเขียนได้นะครับ เอาละมาต่อกันดีกว่า ยุคต่อมาก็ Delphi ของเจ้า Borland ตอนนั้นดังสูสีกับ Visual Basic ของเจ้าสัว Bill Gates เค้าละ แต่ที่เป็นทูลของเจ้าใหญ่ถึงจะไม่เป็น Mass product แต่เนื่องจาก Data Base เขาเป็นที่หนึ่งจึงมีผู้ใช้พอสมควร นั้นก็คือ Oracle Developer ยุคนี้น่าเป็นยุค Client - Server ทำมาหากินกับเจ้าเครื่องมือเหล่านี้ก็หลายปี และแล้วอินเตอร์เนตก็มา เป็นความสนุก :p ของคนอาชีพนี้ที่ถูกสาปให้ต้องเรียนของใหม่ตลอดเวลา ได้เจ้า JAVA มาเป็นตัวช่วยให้เขียนโปรแกรมได้ทั้งบน Server และ Browser แต่ระยะหลังรูปแบบการเขียนโปรแกมเริ่มเปลี่ยนไป เป็นการใช้เฟรมเวิร์คกับภาษาที่ง่ายๆมากขึ้น คนที่คุ้นเคยกับภาษา PL/SQL และ Oracle Developer ก็คิดว่าน่าจะมีทูลอะไรที่ช่วยในการทำ Web Application ได้อย่างง่ายๆโดยสามารถใช้งานบน Browser ได้เลย จึงได้เริ่มโครงการ WebDB ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Oracle Portal โดยเขียนเป็น PL/SQL Package ทำหน้าที่สร้าง HTML อย่างง่ายๆได้ทำให้สามารถสร้าง Dynamic Report ได้ด้วย PL/SQL ประมาณปี 2004 ได้แยกออกมาเป็นทูลเฉพาะสำหรับสร้าง Web Application ให้ชื่อว่า HTMLDB และพัฒนาต่อเนื่องมาจนในปี 2006 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น APEX version 2.1 และเป็นทูลที่แถมฟรีมากับ Database Oracle XE ทีมพัฒนายังคงอดทนพัฒนาต่อไปทั้งๆที่เป็นทูลแจกฟรีสำหรับผู้ใช้ที่ใช้ Database Oracle เมื่อผนวกกับความสามารถของ CSS และ AJAX เข้าไปจึงเป็นรูปเป็นร่างที่จะสามารถใช้งานได้จริงๆ ก็เป็น version 3.2 ใน version นี้เองเริ่มมีหนังสือและผู้ใช้ในฝั่งยุโรปจำนวนหนึ่งได้นำไปใช้พัฒนาเป็น Web Appliaction ใช้งานกันในองค์กรจริงจังทั้งทางด้าน ธุรกิจยา, ด้านการธนาคาร กระทั้งมีผู้ให้บริการ Hosting บางแห่งนำมาติดตั้งเพื่อบริการลูกค้า จนล่าสุดใน version 4.2 ได้มีการเพิ่มฟีเจอร์ต่างๆอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น mobile template สำหรับสร้าง mobile application, RESTful Webservices, package application, HTML5 Chart จากเดิมเป็น Flash, HTML5 support และในที่สุด Oracle เองได้รวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบ Oracle Clound โดยเป็นทูลอีกหนึ่งทูลที่ให้บริการนอกเหนือจาก JAVA แล้ว อ่านมาถึงตอนนี้อาจมีบางท่านเริ่มสนใจที่จะรู้จักกับเจ้า Oracle APEX มาขึ้นแล้ว แล้วเราจะค่อยๆทำความรู้จักกับต่อไปในบทความต่อๆไปนะครับ สำหรับท่านที่รีบร้อนปัจจุปันมีหนังสือเกี่ยวกับ Oracle APEX มากมายแล้วนะครับลองเข้าไปดูที่ amazon นะครับ สวัสดีครับ
สวัสดีครับ หายไปนานเลยครับ ภาระกิจรัดตัวต้องไปช่วยลุงกำนันครับ ชาติต้องมาก่อนอื่นใดครับ บทความนี้เราจะมาเล่าถึงการนำเอา ORACLE APEX มาใช้ในฐานข้อมูลของเราเอง จากบทความที่แล้วที่เราได้ทดลองใช้ ORACLE APEX บน Example Cloud กันบ้างแล้ว ตอนนี้เราจะมาทดลอง Install ลงบนเครื่องเราเองใช้ในหน่วยงานแบบไม่ต้องมี Internet และไม่ต้องไปเสียเงินใช้บน ORACLE Cloud :p ตั้งใจว่าจะไม่เป็นวิชาการมากนักเอาเป็นแบบเน้นทดลองกันเองเลยตามขั้นตอน แต่ก่อนอื่นก็ต้องทำความเข้าใจกันบ้างเพื่อว่าเวลา Install จะได้ไม่งงว่ากำลังทำอะไร ครับ ORACLE Application Express Engine เป็น โปรแกรม Oracle Package ที่ต้องการติดตั้งลงในฐานข้อมูล ORACLE เท่านั้นและแสดงผลเป็น Web Application และการติดตั้งก็มีสองวิธีคือ ใช้ Web Server ของ Database เอง หรือใช้ Web Listener อื่นร่วมด้วยก็ได้ ซื่งบทความนี้จะเสนอเฉพาะวิธีที่สองเท่านั้นครับ เพราะในหน่วยงานส่วนใหญ่น่าจะใช้เป็น แบบ Multi-Tier มากกว่า ภาพประกอบแบบ การใช้ Listener ของ database เองเลยที่เรียกว่า Oracle XML DB Protocol Server with the embedded P...
Comments
Post a Comment